ยาง Tubeless (ทูปเลส) หรือยางที่ไม่ได้ใช้ยางใน เมื่อเกิดการรั่วสามารถนำไปปะได้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง ซึ่งที่รู้ ๆ กันก็จะมีอยู่ 2-3 วิธี แต่วิธีไหนดี หรือเป็นที่นิยมใช้กันก็ต้องเป็นแบบ ปะยางแบบตัวหนอน เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องถอดยางออกจากล้อ ยกเว้นว่าเราหารูรั่วไม่เจอ ก็จะต้องถอดยางออกจากล้อนั่นเอง
โดยทั่วไป มีการปะยาง 2 แบบ ได้แก่
- การปะด้วยตัวหนอน วิธีการคือ ใช้ตะไบหางหนู หรือสว่านเบอร์เล็กทะลวงแผลเพื่อเป็นการตกแต่งแผลให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจะนำตัวหนอน เสียบยัดเข้าไปในแผล เพื่อเป็นการอุดรั่ว (ตัวหนอน มีหลายชนิด มีทั้งแบบที่ต้องทากาว และแบบที่ไม่ต้องทากาวเพราะมีกาวอยู่ที่ตัวแล้ว) ข้อดีของการปะตัวหนอน คือราคาถูก ปะง่าย ใช้เวลาน้อย แถมไม่ต้องถอดยางล้ออีกด้วย ส่วนข้อเสียของการปะตัวหนอน กรณีที่ตัวปะหรือกาวไม่ได้มาตรฐาน อาจจะเกิดการรั่วซึมอีกได้ แต่ทั้งนี้ การปะแบบตัวหนอนนั้นจะมีความแข็งแรงน้อยกว่าการปะแบบสตรีม
- การปะแบบสตรีม (มี 2 แบบ)
ปะสตรีมเย็น เป็นการใช้แผ่นยางแปะทับรอยรั่วจากด้านใน วิธีการคือ เจียรเนื้อยาง
ด้านในโดยรอบรูรั่วเพื่อเปิดผิวยาง จะช่วยให้มีการยึดติดที่ดียิ่งขึ้นก่อนที่จะทากาว ซึ่งควรรอให้กาวแห้งหมาดๆ และใช้แผ่นปะ แปะทับรอยรั่ว จากนั้นก็รีดให้แผ่นปะแนบติดแน่นกับยางล้อ อาจใช้มือรีด หรืออุปกรณ์ช่วยรีดเพื่อกดแผ่นปะให้แน่น
ปะสตรีมร้อน เป็นวิธีการปะที่คล้ายคลึงกับการปะสตรีมเย็น วิธีการคือ ต้องเจียรเนื้อยางด้านในโดยรอบรูรั่วเพื่อเปิดผิว หลังจากนั้น ให้ทากาวทิ้งไว้ รอให้กาวแห้งพอหมาดๆ แล้วตัดแผ่นยาง (compound) ที่มีลักษณะเป็นเหนียวนุ่ม วางทับบนรูรั่วที่ทากาวไว้ ต่อจากนั้นนำไปกดทับด้วยเครื่องกดที่มีหัวกดร้อนทิ้งไว้ซักระยะ เพื่อรอแผ่นยางเซ็ตตัว แล้วค่อยนำยางล้อออกจากเครื่องกด (บางที่อาจมีแผ่นผ้าใบปะทับเพิ่มไปอีกชั้นก็ได้)
ข้อดีของการปะแบบสตรีม จะมีความแข็งแรงมากกว่าแบบตัวหนอน ซึ่งการปะแบบสตรีมร้อน
มีความแข็งแรงกว่าการปะแบบสตรีมเย็น ส่วนข้อเสีย คือ ราคาสูงกว่าการปะแบบตัวหนอน ต้องถอดยางล้อออก และอาจทำให้ยางบริเวณที่ปะสตรีมมีอาการบวมได้ หากการเจียรไปทำให้โครงสร้างของยางเสียหาย หรือความร้อนมากเกินไป